ยินดีต้อนรับเข้าสู้ระบบ

วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ประวัติส่วนตัว

นางสาว นนทิยา  พลอยชุม  ชื่อเล่น เดีรย์

รหัสนักศึกษา 554188122 คบ.1 การประถมศึกษา  หมู่ 3

อุปนิสัย : เฮฮ่า เป็นกันเอง

อาหาร : ต้มยำกุ้ง

กีฬา : วอลเลย์บอล

คติ ; ฝันให้ไกลไปให้ถึง ถ้ายังไม่ถึงอย่าหยุดฝัน

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


การศึกษาตลอดชีวิต
                ความหมายของการศึกษาตลอดชีวิต
            คำว่า   การศึกษาตลอดชีวิต”  แท้ที่จริงแล้วมิใช่ความคิดใหม่  มีหลักฐานว่าแนวความคิดนี้ได้มาแล้วช้านาน ในคัมภีร์กรูอาน มีคำสอนว่า บุคคลพึงเรียนรู้ตั้งแต่อยู่ในไปเปลไปจนถึงหลุดฝังศพ  (Fromcradle to grave)   นั้นก็คือเรียนรู้ตลอดเวลานับตั้งแต่เกิดจนตาย   (เอ็มมาดูมาทาร์ เอ็ม โบว์)   บางท่านก็กล่าวว่าการเรียนรู้นั้นเริ่มจากครรภ์มารดาจนถึงหลุมฝังศพ   (From womb tomb)  ซึ่งก็มีความหมายเช่นเดียวกัน  โคมีเนียส  (Comenius)  นักการศึกษาชั้นนำผู้หนึ่งของโลกได้กล่าวเมื่อประมาณสามร้อยปีมาแล้วว่าการศึกษาควรจัดเพื่อเสริมสร้างความเป็นมนุษย์ของคนทุกคน  เขาได้แบ่งชีวิตของมนุษย์เป็นช่วงๆ  แต่ละให้มีโรงเรียนสำหรับการสอนกล่าวคือ  โรงเรียนสำหรับคนแรกเกิด   โรงเรียนสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน    โรงเรียนสำหรับเด็ก   โรงเรียนสำหรับหนุ่มสาว    โรงเรียนสำหรับคนชรา      และโรงเรียนสำหรับเตรียมเพื่อความตาย   สรุปแล้ว  โคมีเนียส  เห็นว่ามนุษย์เราควรมีการศึกษาตั้งแต่เกิดจนอายุขัย   ดังนั้น      จึงกล่าวได้ว่าแนวคิดนี้ได้มีมาแล้วนับร้อยๆปี          มิใช่เป็นสิ่งเพิ่มมีขึ้นมาในปัจจุบันแต่อย่างใด
             ผลงานของยูเนสโกเกี่ยวกับการศึกษาตลอดชีวิตซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังมากก็คือรายงานชื่อ  Lerning  To  Be (UNESCO ; 1972)   (เล่มแปลกเป็นภาษาไทย เรียกชื่อว่า การศึกษาเพื่อชีวิต)   รายงานนี้   เอ็ดการ์  ฟอร์   เป็นบรรณาธิการ   จึงเรียกชื่อว่า   รางงานเอ็ดการ์ฟอร์    รายงานนี้เลขาธิการยูเนสโกได้นำเสนอคณะกรรมการอำนวยการยูเนสโก   เมื่อเดือนกันยายน 1972     และได้นำเสนอที่ประชุมใหญ่เพื่อให้ความเห็นชอบอีกครั้งหนึ่ง   เมื่อเดือนตุลาคม  1972     อันเป็นผลให้รัฐสมาชิกยูเนสโกได้ให้ความสนใจและเริ่มศึกษารายงานนี้อย่างจริงจังตั้งแต่นับนั้นเป็นต้นมา
                รายงานเรื่อง  Lerning To Be”     ได้เสนอว่า   เราขอเสนอให้ใช้การศึกษาตลอดชีวิตเป็นแนวความคิดหลักของนโยบายการศึกษาในอนาคต”      ทั้งของประเทศพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนา (UNESCO; 1972: 182)
                   จะเห็นว่ารายงานนี้ได้มองภาพรวมของการศึกษาในลักษณะการศึกษาตลอดชีวิดและเห็นว่าการวางนโยบายการศึกษาควรจะยึดแนวความคิดนี้เป็นแนวความคิดหลัก   นอกจากนั้นยังมองเห็นการศึกษาตลอดชีวิตเป็นสิ่งจำเป็นไม่เพียงต่อประเทศที่เจริญก้าวหน้าแล้วเท่านั้นแม้ประเทศที่กำลังพัฒนาก็ควรจะต้องมีการศึกษาตลอดชีวิตเช่นเดียวกัน      เพียงแต่ว่าการนำแนวความคิดนี้จะรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของแต่ละประเทศอย่างไรเท่านั้น   (UNESCO; 1972: 182)    
                      ประเทศไทยเราก็ได้มีการนำแนวคิด       การศึกษาตลอดชีวิต       มาสร้างแนวนโยบายในการจัดการศึกษา ดังปรากฏในแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2520     ดังนี้ (แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2520)
                      14     รัฐพึ่งเร่งรัดและสนับสุนนการศึกษานอนโรงเรียนในลักษณะต่าง ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลได้มีโอกาสได้รับการศึกษาตลอดชีวิต    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่ไม่มีโอกาสศึกษาในระบบโรงเรียน   และโรงเรียนนอกโรงเรียน
                 “28    การศึกษา28    การศึกษาตามนัยแห่งแผนศึกษานี้    เป็นสิ่งที่จะต้องทำต่อเนื่องกันตลอดชีวิต   ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน   และโรงเรียนนอกโรงเรียน
                 ความหมายของการศึกษาตลอดชีวิต
                             ยูเนสโก(UNESCO; 1972: 12)   ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learnting) ไว้ดังกล่าวนี้
                “Lifelong Learnting denotef an overall scheme aimed both at restructuring the existing education system and at developing the entire educational potential ontside the education system ; in Which such a Scheme of men and women are the agents of their own education through continual interaction between their thoughts and actions ; and learning……..should extend throughout life, include all skills and buanches of knowledge, use all possible mears and give the opportunity to all people for all Development of the personalirty”
               ซึ่งอาจแปลได้ว่า
                 “การเรียนรู้ตลอดชีวิต     หมายถึง    แผนส่วนรวมซึ่งมุ่งที่จะจัดโครงสร้างระบบการศึกษาที่เป็นอยู่และพัฒนาศักยภาพแห่งการศึกษานอกระบบการศึกษา       เพื่อให้บุคคลทั้งชายและหญิงได้เป็นตัวแทนการศึกษาของตนเองด้วยการผสมผสานระหว่างความคิดและการกระทำดังนั้น การศึกษากับการเรียนรู้...........จะขยายตัวออกไปตลอดชีวิต     ครอบคลุมถึงทักษะและสาขาวีชาความรู้ทั้งปวง   ตลอดจนใช้วิธีการทั้งปวง    และให้โอกาสแก่คนทั้งปวง    เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพของตนให้สมบูรณ์”   (สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหประชาชาติของประเทศ  1976 : 179, 979)
                   ความหมายของการศึกษาตลอดชีวิตสามารถพิจารณาได้อีกใน 2 มิติคือ
               1.  พิจารณาในแนวตั้ง   เป็นความพยายามจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคคลให้เป็นขบวนการต่อเนื่องเรื่อยไป ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย    มิใช่จัดให้เฉพาะการเรียนในโรงเรียนเพียงช่วงใดช่วงหนึ่งของช่วงอายุเท่านั้น
              2.  พิจารณาในแนวนอน   เป็นความพยายามจัดการสอนโดยผสมผสานกิจกรรม   หรือประสบการณ์ทางการศึกษากับการดำเนินชีวิตเข้าด้วยกัน     ให้สอดคล้องเหมาะสมที่จะพัฒนาไปสู่การมีชีวิตที่ดี      ทั้งในส่วนบุคคลและสังคม     เป็นการจัดการศึกษาในลักษณะบูรณาการ  (เธียรศรี  วิวิธสิริ, 2535 : 12-13)
                  คุณลักษณะสำคัญของการศึกษาตลอดชีวิต
              Dave   (Dave, R.H.., 1973: 14-25) ได้ให้คุณลักษณะสำคัญของการศึกษาตลอดชีวิตไว้ 20 ประการ ดังนี้คือ
           1.ในความหมายของการศึกษาตลอดชีวิต    จะมีความคิดหลักที่ประกอบด้วยคำสำคัญ 3 คำ   
ได้แก่ ชีวิต  (Life)  และการศึกษา (Education) มาหลอมรวมกันเป็นการศึกษาตลอดชีวิต   หรือบางท่านเรียกว่าการการศึกษาเพื่อชีวิต   ทั้ง 3 คำนี้จะมีความหมายเกี่ยวพันผสมผสานกัน และเกี่ยวข้องตลอดอายุขัยของมนุษย์ทุกคน
            2.การศึกษาไม่ได้สินสุดลงเพียงการจบการศึกษาในระบบโรงเรียนเท่านั้น   แต่จะเป็นขบวนการที่เกี่ยวข้องกับชีวิตทุกช่วงชีวิต    ตลอดเลา      ตลอดชีวิตของแต่ละบุคคล
            3.การศึกษาตลอดชีวิต    มิใช่หมายความถึงเฉพาะการศึกษาผู้ใหญ่เท่านั้น   แต่เป็นผลรวมของการศึกษาทุกขึ้นทุกตอน   เช่น   การศึกษาก่อนวัยเรียน   การประถมศึกษา   มัธยมศึกษาและอื่นๆ    ดังนั้นการศึกษาตลอดชีวิตจึงเป็นการแสวงหาทักษะทางการศึกษา  ที่เป็นการรวบรวมการศึกษาทุกระดับทุกประเภทไว้ทั้งหมด
           4.การศึกษาตลอดชีวิต  เป็นผลรวมความเชื่อมโยงผสมผสานของการศึกษาในระบบโรงเรียน  (Formal Education) การศึกษาระบบนอกโรงเรียน (Nonformal Educatio) และการศึกษาไม่เป็นทางการ (Informal Educatio)
             5.จุดเริ่มตนของการศึกษาตลอดชีวิต   อันดับแรกคือ   การชีวิตในครอบครัวเป็นบทบาทตอนต้นที่มีความละเอียงอ่อนที่สุด  และสำศัญที่สุดในขบวนการศึกษาตลอดชีวิต  นั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาของแต่ละบุคคล   ซึ่งเป็นไปตามขบวนการเรียนรู้ในครอบครัวและสังคมของบุคคลนั้นๆ   ทำให้บุคคลรู้จักตนเองในบทบาทและสถานภาพที่แต่งต่างไปในแต่ละสถานที่แต่ระยะเวลาที่ผ่านไป
            6.ชุมชนมีบทบาทสำคัญในระบบการศึกษาตลอดชีวิต   นับตั้งแต่วัยเด็ก    ซึ่งเป็นวัยที่เริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชน   และชุมชนก็มีบทบาทในฐานะองค์ประกอบด้านการศึกษาอาชีพ   ด้านความรู้ทั่วไป ฯลฯ จนตลอดชีวิต   ทำให้สมาชิกในชุมชนทุกคนได้พัฒนาตนเองและสร้างสรรค์พัฒนาสังคมด้วย
            7.สถาบันการศึกษา   เช่น   โรงเรียน  หมาวิทยาลัย  และสถาบันฝึกอบรมต่างๆเป็นแห่งให้การศึกษาที่สำศัญยิ่ง  แต่ก็ยังจัดเป็นส่วนหนึ่งในหลายๆ   อย่างให้การศึกษาตลอดชีวิต  เนื่องจากสถาบันการศึกษาเหล่านี้ไม่ได้เป็นแหล่งเดียวที่ให้การศึกษา   ละยังไม่สามารถแยกออกจากองค์กรอื่นๆในสังคมได้
            8.การศึกษาตลอดชีวิต  เป็นขบวนการต่อเนื่องที่มีการเชื่อมโยงกันระหว่างประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ให้เป็นไปอย่างไม่ขาดสายและเกี่ยวข้องกับความลึกซึ้งกว้างขวางของประสบการณ์ที่ได้รับในชีวิต
            9.การศึกษาตลอกชีวิต  คือ  การแสวงหาความสมบูรณ์ของชีวิตเป็นการบูรณาการบทบาทชีวิต   ทั้งในแนวตั้ง  ตั้งในแนวนอน   แล้วในแนวลึก
           10.การศึกษาตลอกชีวิตมีลักษณะเป็นสากล    เป็นตัวแทนของการศึกษาเพื่อประชาธิปไตย   เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นได้ในหลายด้าน   เป็นการศึกษาที่ให้โอกาสแก่ทุกคนได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน   ทุกขั้นตอนของชีวิตตามความสามารถ   ความต้องการ   และโอกาสของทุกคนที่แสวงหาประโยชน์จากการศึกษา
          11.การศึกษาตลอดชีวิต   จะมีลักษณะยืดหยุ่นในด้านเนื้อหา   วัสดุอุปกรณ์   เทคนิคในการเรียนรู้และระยะเวลา
          12.การศึกษาตลอดชีวิต   จะเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปตามความเจริญก้าวน่าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   มีการนำสื่อการเรียนการสอนใหม่ ๆ นี้มาใช้   ทำให้สามารถจัดการศึกษาให้แก่คนเป็นจำนวนมากได้เวลาอันรวดเร็ว   กว้างขวางทั่วถึงมากขึ้น
          13.การศึกษาตลอดชีวิต   มีหลายรูปแบบและหลายวิธีการ   ทั้งนี้เพื่อให้การศึกษามีความเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง   เปิดโอกาส   และสนองความต้องการทางการศึกษาให้กว้างขวางออกไป
          14.การศึกษาตลอดชีวิต   ประกอบด้วยความรู้ทั่วไปและวิชาชีพ   ซึ่งทั้ง 2 วิชานี้มิได้มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง   แต่จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันโดยธรรมชาติ
          15.การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงนวัตกรรม   เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของบุคคลและสังคม   สามารถทำได้โดยอาศัยการศึกษาตลอดชีวิต  การศึกษาตลอดชีวิตจะช่วยให้บุคคลมีความรู้และวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ปรับตัวและพัฒนาบุคลิกภาพของตน     ทำให้ชีวิตประสบความสำเร็จ
          16.การศึกษาตลอดชีวิต   ช่วยแก้ไขสิ่งบกพร่องของระบบการศึกษา   โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในระบบโรงเรียน     ในส่วนที่ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของบุคคลและสังคม
          17.เป้าหมายสุดท้ายของการศึกษาตลอดชีวิต      คือ     การรักษาไว้และปรับปรุงคุณภาพของชีวิต   ให้ดีขึ้น   เพื่อทำให้คนในแต่ละสังคมมีชีวิตที่ดีมีความเป็นอยู่ดีขึ้น
          18.สิ่งจำเป็นสำหรับการจัดการศึกษาตลอดชีวิต       ก็คือโอกาสทางการศึกษา   แรงจูงใจและความสามารถในการเรียนรู้   โดยมุ่งให้ประชาชนส่วนใหญ่มีโอกาสได้รับการศึกษามีความรักความสนใจที่เรียนรู้สิ่งต่างๆทั้งต้องมีเทคนิคและทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วย
         19.การศึกษาตลอดชีวิต                   เป็นแกนกลางหรือตัวจักรที่สำคัญในการวางแผนทั้งในทางทฤษฎีและโครงสร้างของการศึกษาอื่น ๆ       ทุกรูปแบบ 
         20.ในขั้นปฏิบัติการ          กล่าวได้ว่า          การศึกษาตลอดชีวิตจะเป็นตัวเชื่องโยงระหว่างระบบการศึกษาต่าง ๆ ได้อย่างดี        เพราะอาจจัดการศึกษาตลอดชีวิตก็คือ      การจัดการศึกษาทุกด้านให้สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน